ลักษณะการเมืองการปกครองของทวีปอเมริกาใต้

Huge-upcoming-protest

         1.ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศของทวีปอเมริกาใต้มีความสัมพันธ์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เนื่องจากมีรากฐานทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่คล้ายคลึงกัน เมื่อเกิดปัญหาระหว่างประเทศ  ก็จะผนึกกำลังร่วมมือกัน โดยได้ทำเป็นสนธิสัญญาป้องกันร่วมกัน เช่น สัญญาริโอ (Rio – Pact) เป็นต้น

        2.รูปแบบการปกครองได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปตะวันตก คือ การปกครองระบอบประชาธิปไตย หลังจากได้รับเอกราชแล้วทุกป  ระเทศในทวีปอเมริกาใต้ ต่างก็มีการปกครองแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

        3.เกิดการปฏิวัติโดยทหารบ่อยครั้ง จนทำให้มีลักษณะการปกครองเป็นแบบเผด็จการทหาร หรือไม่ก็ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง ในอดีตเคยเป็นทหารมาก่อน

       4.สหรัฐอเมริกามีบทบาทอย่างมากในทวีปอเมริกาใต้ สังเกตได้จากการที่สหรัฐฯให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆกับประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือด้านสังคม เช่น ช่วยโคลัมเบียในด้านปราบปรามยาเสพติด   ช่วยเหลือรัฐบาลพลเรือนในเปรูและอาร์เจนตินา เป็นต้น

รูปแบบการปกครอง

     การปกครองในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นแบบรัฐบาลเดี่ยว ส่วนประเทศที่มีการปกครองแบบรัฐรวม  แบ่งเขตการปกครองเป็นรัฐต่าง ๆ ได้แก่

     –  ประเทศบราซิล  มีรัฐทั้งหมด  23   รัฐ

     –  ประเทศเวเนซุเอลา  มีรัฐทั้งหมด  20  รัฐ

      ทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้  มีการปกครองเป็นสาธารณรัฐ  โดยมีประธานาธิบดี  เป็นประมุขของประเทศ  เดิมประเทศบราซิลมีจักรพรรดิเป็นประมุข  แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2432 จึงใช้ระบบประธานาธิบดี ประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ ได้แก่ ประเทศกายอานา ที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2513 แต่ยังคงเป็นประเทศสมาชิกเครือจักรภพอังกฤษอยู่ มีประธานาธิบดีเป็นหัวหน้ารัฐบาล และมีข้าหลวงใหญ่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษเป็นประมุขของประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างทวีปอเมริกาใต้กับประเทศไทย

      ทวีปอเมริกาใต้แม้จะอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย และการคมนาคมขนส่งค่อนข้างลำบาก แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประเทศในทวีปอเมริกาใต้ต่างเป็นมิตรที่ดีต่อกัน

     1. ความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง

         ความสัมพันธ์ทางการเมืองกับทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นความสัมพันธ์ทางด้านการทูตประเทศไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางด้านการทูตกับประเทศอาร์เจนตินาเป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาใต้ และต่อมาได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศบราซิล โบลิเวีย ชิลี โคลอมเบีย  เอกวาดอร์  ปารากวัย เปรู และเวเนซุเอลา

     2. ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจ

เนื่องจากประเทศในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรม และผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกับประเทศไทย ทำให้ในแต่ละปีปริมาณสินค้าออกและสินค้าเข้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศในทวีปอเมริกาใต้จึงมีไม่มากนัก สินค้าที่ประเทศไทยนำเข้า ได้แก่ กาแฟ โกโก้ สินแร่ จากประเทศบราซิล เวเนซุเอลา และอาร์เจนตินา และสินค้าที่ประเทศไทยส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จ อัญมณี     ผ้าไหม และสินค้าอื่น ๆ

     3. ความสัมพันธ์ทางด้านสังคม

       ความสัมพันธ์ทางด้านสังคมระหว่างประเทศทวีปอเมริกาใต้กับประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือในด้านการค้นคว้าวิจัย และการกีฬา เช่น ประเทศไทยกับบราซิลได้ร่วมกันวิจัยเกี่ยวกับพืชเมืองร้อน ด้านการกีฬา ประเทศบราซิลซึ่งมีชื่อเสียงด้านกีฬาฟุตบอล ก็เคยส่งผู้ฝึกสอนมาฝึกสอนนักกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย

ใส่ความเห็น